ผักเชียงดาคืออะไร?
ผักเชียงดา หรือ Gymnema Sylvestre เป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น ที่มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนของอินเดียและแอฟริกา ในประเทศไทยจะพบมากในภาคเหนือ บางที่เรียก ผักจินดา หรือ ผักม้วนไก่ ในประเทศอินเดียมีชื่อเรียกผักเชียงดาว่า กูรมาร์ (Gurmar) แปลว่า “ผู้ฆ่าน้ำตาล” เนื่องจากสรรพคุณของผักเชียงดา สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้คนอินเดีย ให้สมญานามนี้ ผักเชียงดานี้ใช้รักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนมาแต่โบราณแล้ว ดังปรากฏในคัมภีร์ “อายุรเวท” ของอินเดีย ที่ในการบำบัดอายุรเวททั่วไป
ถึงแม้จะชื่อว่าผัก แต่สรรพคุณของผักเชียงดานั้น จัดว่าเป็นสมุนไพรอย่างแท้จริง หากใช้อย่างถูกต้อง แล้วมีปริมาณเข้มข้น จะช่วยร่างกายเราได้มากเลยทีเดียว มีเรื่องเล่าว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้นำผักเชียงดา กลับไปให้นักวิจัยที่ญี่ปุ่นไปค้นคว้า จนเจอว่าสามารถควบคุมน้ำตาล ทำตัวเหมือนอินซูลินได้ จนทำให้ญี่ปุ่นถึงกับจดสิทธิบัตรผักเชียงดาที่ญี่ปุ่นเลยทีเดียว
ผักเชียงดาทำงานกับร่างกายเราอย่างไร?
มีงานวิจัยจากต่างประเทศ และในประเทศไทยพบว่า ในผักเชียงดามีสารที่ชื่อว่า Gymnemic Acid โดยสารนี้มีลักษณะเหมือนน้ำตาลกลูโคส ช่วยยับยั้งน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย และช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งชนิดที่ต้องใช้อินซูลินและชนิดที่ไม่ต้องใช้อินซูลิน ที่สำคัญยังช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูเบต้าเซลล์ในตับอ่อน ให้ผลิตอินซูลินตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย และยังช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญกลูโคสในร่างกาย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้
มีการทดลองนำผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินจำนวน 27 ราย ให้กินสารที่สกัดจากผักเชียงดาจำนวน 400 มิลลิกรัม/วัน พบว่าปริมาณความต้องการอินซูลินในร่างกายลดลง ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ฉีดอินซูลินอีก 22 ราย ก็ให้กินสารสกัดจากผักเชียงดาเป็นจำนวน 400 มิลลิกรัม/วัน เช่นกัน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 18-20 เดือน ร่วมกับยารักษาเบาหวาน พบว่าปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในจำนวนนี้ 5 ใน 22 ราย สามารถหยุดยาเบาหวาน แล้วกินแต่สารสกัดจากผักเชียงดาเพียงอย่างเดียวได้เลย
อ่านรายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติม
อยากทราบรายละเอียดงานวิจัย จากทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวกับผักเชียงดาช่วยเรื่องเบาหวาน ความดัน และไขมัน
คลิกที่ปุ่มด้านล่างเพื่ออ่านบทความได้เลย เราได้รวบรวมมาให้คุณแล้วจากหลากหลายที่
สรรพคุณของผักเชียงดาช่วยเรื่องเบาหวานอย่างไร?
สาร Gymnemic Acid ที่พบอยู่ในผักเชียงดา สามารถช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลและช่วยลดความอยากน้ำตาลได้ และยังได้ผลดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดระดับน้ำตาลในเลือด สรรพคุณของผักเชียงดายังช่วยรักษาโรคอ้วน เบาหวาน และช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายที่มากเกินไป โดยป้องกันการดูดซึมกลูโคสและไขมันในลำไส้ นอกจากที่กล่าวมานั้น ผักเชียงดายังสรรพคุณอีกมากมายเช่น
สรรพคุณของผักเชียงดา
นอกจากนี้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้จัดผักเชียงดาให้อยู่ในกลุ่มผักที่มีวิตามินซีสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดการติดเชื้อไวรัส ลดความเสี่ยงและเป็นเกราะป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ด้วย ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้ระบุว่า ผักเชียงดาช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด การศึกษาทางคลินิก ยังพบว่ากลุ่มที่ดื่มชาเชียงดา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ดื่มอีกด้วย
ผักเชียงดาใช้อย่างไร?
ใบสดของผักเชียงดา สามารถนำมาล้างทำความสะอาด แล้วนำมารับประทานได้เลย โดยส่วนที่พบสาร Gymnemic Acid เยอะที่สุดคือยอดอ่อน 3 ใบบนสุด สามารถนำมาลวก หรือนำมาผัดได้หลายเมนู แต่หากต้องการนำมาใช้เพื่อรักษา คุณต้องกินผักเชียงดาเป็นจำนวนมาก ถึงจะมีฤทธิ์ทางยา แต่วิธีที่ง่ายและดีที่สุดคือใช้การสกัดเอาสาร Gymnemic Acid ออกมา ในรูปแบบของ ผักเชียงดาแคปซูล หรือ ชาผักเชียงดา จะทำให้คุณได้ปริมาณสาร Gymnemic Acid ที่เพียงพอ และปลอดภัยต่อร่างกาย รวมถึงทานง่าย พกพาสะดวกอีกด้วย
ผักเชียงดาแบบแคปซูล
ในท้องตลาดมีผักเชียงดาแบบแคปซูลหลายยี่ห้อ หลายราคา แต่คุณควรที่จะดูด้วยว่า ยี่ห้อเหล่านั้นเป็นสมุนไพรที่เป็นตำรับยาหรือเปล่า เพราะการทานแต่สารสกัดจากผักเชียงดาอย่างเดียว ก็ไม่เป็นผลดี การทานสมุนไพรที่เป็นตำรับยาจะปลอดภัยกว่า ทานได้ต่อเนื่องกว่า เพราะยาตำรับ จะมีสมุนไพรที่ใส่ลงไปมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป ในทางแพทย์แผนไทยถึงจะเรียกว่าเป็นยา อย่างเช่น จิมเนม่าแคปซูล ที่เป็นตำรับยาที่มีสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิด มีสรรพคุณช่วยเรื่อง เบาหวาน รวมถึง ความดัน และไขมันด้วย
ชาผักเชียงดา
เช่นเดียวกับแคปซูลผักเชียงดา ชาผักเชียงดาก็จะมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาล และช่วยโรคเบาหวานได้ คุณสามารถดื่มได้ตลอดวัน เพียงแต่ต้องเลือกยี่ห้อที่มีสมุนไพรเป็นตำรับยา จะทำให้การทำงานของสมุนไพรเข้มข้นมากขึ้น รวมถึงต้องเลือกยี่ห้อที่มีสมุนไพรที่ช่วยทำให้ดื่มได้ง่าย เพราะผักเชียงดาจะมีกลิ่นที่เหม็นเขียว และมีรสชาติออกขม แนะนำเป็น จิมเนม่าชาชง ผักเชียงดาในรูปแบบเครื่องดื่ม ไม่มีใบชา เป็นตำรับยา มีสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิด และที่สำคัญดื่มง่ายมาก หอม อร่อย ดื่มได้ทุกวัน
สรรพคุณของผักเชียงดาช่วยลดน้ำตาล ความดัน ไขมันได้อย่างไร?
ผักเชียงดาเป็นสมุนไพรที่เชื่อว่ามีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายหลายประการ รวมถึงความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความอยากน้ำตาล และช่วยในการลดน้ำหนักได้ และยังช่วยลดไขมันในเลือดโดยลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่ร่างกาย สารประกอบที่ออกฤทธิ์ในผักเชียงดาคือ Gymnemic Acid เป็นตัวที่ช่วยลดน้ำตาลและไขัมัน และมีส่วนช่วยให้ระดับอินซูลินอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเพิ่มการผลิตอินซูลินและกระตุ้นร่างกายให้สร้างอินซูลินขึ้นมา ซึ่งสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น ทำให้ความดันเลือดลดลง
มีงานวิจัยศึกษาผลของผักเชียงดา โดยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 215 คน ทานผักเชียงดานาน 4-12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ใช้ผักเชียงดามีแนวโน้มที่ระดับน้ำตาลในเลือด (FBG) ลดลงเฉลี่ย 2.86 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงร้อยละ 0.21
ผักเชียงดาลดความดันได้อย่างไร
ในสรรพคุณของผักเชียงดา จะช่วยให้น้ำตาลและไขมันในเลือดลดลง หาทานต่อเนื่อง เลือดจะไหลเวียนในร่างกายได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ความดันในหลอดเลือดค่อยๆ ลดลงอย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว การทานผักเชียงดาที่เป็นตำรับยา ก็จะมีส่วนช่วยให้ความดันในเลือดลดลงได้
ผักเชียงดาลดไขมันได้อย่างไร
ผักเชียงดามีฤทธิ์ลดไขมันในเลือดได้ดี โดยสารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ Gymnemic Acid ซึ่งออกฤทธิ์โดยการเพิ่มการขับออกของคลอเสลเตอรอลทางอุจจาระ ในงานวิจัย กลุ่มที่ได้รับผักเชียงดายังสามารถลดระดับไขมันรวมและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้มากกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ โดยลดไขมันรวม 28.26 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และไตรกลีเซอไรด์ลดลง 21.03 มิลลิกรัม/เดซิลิตร นั่นคือผักเชียงดามีผลต่อการลดระดับไขมันในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ
ข้อควรระวังและผลข้างเคียง
1.ไม่พบผลข้างเคียงจากการกินผักเชียงดา จากงานวิจัยหลายที่บอกตรงกันว่าการทานผักเชียงดาต่อเนื่อง ไม่มีผลกระทบต่อตับและไตในร่างกาย
2.ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารมาก ไม่ควรกินผักเชียงดาตอนท้องว่าง
3.ไม่ควรทานในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ
4.ไม่ควรใช้ผักเชียงดาในการรักษาโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียว แต่ควรควบคุมการรับประทาอาหารต่าง ๆ และออกกำลังกายร่วมด้วย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ก็จะช่วยให้ร่างกายกำจัดและลดน้ำตาลได้ดีขึ้น
5.ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตามนัด และทานยาหมอเป็นประจำร่วมด้วย
สรุป
โดวยรวมแล้วสรรพคุณของผักเชียงดามีส่วนในการช่วยควบคุม และลดน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดไขมันในเลือด และช่วยลดความดันในเลือดลงได้ ไม่ว่าจะเป็นผักเชียงดาแคปซูล หรือ ชาผักเชียงดา ก็มีสรรพคุณช่วยเรื่องลดน้ำตาลได้เป็นอย่างดีทั้งคู่ เพียงแต่ต้องดูว่าผักเชียงดาที่คุณซื้อมานั้นมาจากผู้ผลิตที่มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือหรือไม่ ผ่านการรับรองจาก อย. และได้มาตรฐานความปลอดภัยอะไรบ้าง และที่สำคัญ ต้องเป็นสมุนไพรที่เป็นตำรับยา ที่มีสมุนไพรมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป มีการควบคุมการผลิตด้วยเภสัชกร และใช้สมุนไพรที่สะอาด ปลูกด้วยวิธีออร์แกนิค เพียงแค่นี้ก็จะทำให้คุณได้สมุนไพรผักเชียงดาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการที่คุณเป็นอย่างได้ผล และปลอดภัยแน่นอน